เริม
เริม (Herpes)
เริมเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า (Herpes Simplex) ซึ่งอาการที่พบคือจะมีตุ่มน้ำใสลักษณะป็นกลุ่ม และมีอาการแสบคันบริเวณแผล ซึ่งเริมพบได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่มักพบได้มากบริเวณ ริมฝีปาก และบริเวณอวัยวะเพศ เริมมักเกิดซ้ำได้บริเวณตำแหน่งเดิมที่เคยพบ โดยหลังติดเชื้อและอาการแสดงหายแล้ว เชื้อจะหลบซ่อนอยู่บริเวณปมประสาท ถ้าร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย หรือมีอาการเครียด เริมจะสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
สาเหตุการเกิดเริม
เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมเกิดจากไวรัส Herpes Simplex หรือเรียกย่อว่า HSV โดยอาการที่เกิดหลังจากการติดเชื้อจะเกิดตุ่มใสคล้ายกับ อีสุกอีใส หรืองูสวัด ซึ่งไวรัส HSV แบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
HSV-1 มักเกิดบริเวณปาก หรือรอบๆปาก มักกำเริบตอนที่ร่างกายอ่อนแอพักผ่อนน้อย หรือ ช่วงมีประจำเดือน หรือพึ่งผ่าตัดซึ่งพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
HSV-2 มักเกิดบริเวณบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ก็สามารถพบในบริเวณอื่นได้เช่นกัน
เริมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถทำให้อาการแสดงหายเร็วขึ้นได้ด้วยการทานยา และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ในกรณีของการเป็นซ้ำมักจะเกิดบริเวณเดิม และทุกครั้งที่เกิดซ้ำอาการมักน้อยลงเรื่อยๆและหายได้เร็วขึ้น หลังจากติดเชื้อครั้งแรกเชื้อจะเข้าไปในชั้นผิวหนังเพื่อทำการแบ่งตัวทำให้เกิดตุ่มน้ำใสและแตกเป็นแผล เมื้ออาการเริ่มดีขึ้นเชื้อโรคจะย้ายเข้าไปที่ปมประสาท และจะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อร่างกายอ่อนแอ
อาการของโรคเริม
อาการของเริมไม่ว่าจะเป็น HSV 1 หรือ HSV 2 จะเหมือนกันโดยจะเริ่มมีตุ่มพองใส บางครั้งจะขึ้นเป็นกลุ่ม โดยแผลจะมีอการเจ็บ และปวดแสบปวดร้อน ถ้าทิ้งไว้ตุ่มน้ำใสมักแตกออก ทำให้เกิดแผล ซึ่งสารคัดหลั่งนี้สามารถแพร่เชื้อได้ และถ้าดูแลรักษาแผลไม่ดีอาจเกิดการติดเชื้ออื่นร่วมทำให้รักษาได้ยากขึ้น นอกจากนั้นในคนไข้หลายๆรายมักมีอาการปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย อาการที่เกิดขึ้นครั้งแรกมักรุนแรงและยาวนานกว่าอาการตอนกลับมาเป็นซ้ำ สำหรับผู้มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันอาการอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเยื่อหุ้มสองทำให้ ปวดศรีษะมาก ชัก และโคม่า เริมในเด็กถือว่าอันตรายมาก เนื่องจากเด็กมีผิวบอบบางทำให้สามาถติดเชื้อได้ง่าย หากเด็กอ่อนแออาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ ชัก ถ้าไวรัสแพร่ไปยังส่วนอื่นๆเช่นปอด ตับ ก็อาจเกิดภาวะแรกซ้อนอื่นๆ ถ้าเชื้อเข้าตาของเด็กอาจทำให้ตาบอดได้
การรักษาโรคเริม
โดยปกติการรักษาโรคเริมแพทย์มักให้ยาต้านไวรัส ให้กินต่อเนื่อง ซึ่งจำนวนยา ระยะเวลา และวิธีการกินยาขึ้นกับบริเวณที่พบรอยโรค สำหรับคนไข้ที่เป็นครั้งแรกหรือเป็นซ้ำบ่อยๆ การกินยาอาจต้องเปลี่ยนไป ดังนั้นการมาปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ช่องทางการติดเชื้อโรคเริม
การติดเชื้อโรคเริมสามารถติดกันได้ค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ผู้แพร่เชื้อมีรอยโรค เช่นใช้ของร่วมกับผู่ป่วย การกินน้ำแก้วเดียวกัน การจูบ การสัมผัสแผลโดยตรง อย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เชื้อ HSV สามารถติดได้หลายบริเวณมาก ดังนั้นในกรณีที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้มีรอยโรคของเริมจึงควรระมัดระวังในการใช้ของร่วมกัน
การตรวจหาเชื้อเริม
การตรวจหาเชื้อ HSV ที่สามารถใช้บริการที่เซฟ คลินิก คือวิธีการแบบ PCR หรือการตรวจแบบหาสารพันธุกรรมโดยตรวจหาจากปัสสาวะ ซึ่งการตรวจแบบนี้มีความแม่นยำสูงมาก เพียงพบสารพันธุกรรมเพียงเล็กน้อยก็สามารถตรวจหาเชื้อเจอได้ แต่การตรวจแบบนี้ก็มีข้อควรระวังเนื่องจากถ้าไม่พบรอยโรค หรือตรวจเร็วเกินไปอาจทำให้ตรวจไม่เจอ ดังนั้นการตรวจแบบนี้แนะนำให้ตรวจหลังจากมีความเสี่ยงรับเชื้อมาไม่ต่ำกว่า3 วันและต้องมีรอยโรคจึงจะสามารถตรวจเชื้อพบได้
FAQ คำถามโรคเริมที่พบบ่อย
รักษาเริมหายขาดได้ไหม
เริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันกลับมาเป็นซ้ำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์
ถ้าเป็นเริมเสี่ยงจะเป็นเอดส์ได้ไหม
การติดเชื้อเอชไอวีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหนึ่งในนั้นคือช่องทางการสัมผัสเชื้อ ในกรณีที่ร่างกายไม่ว่าบริเวณใดมีแผล และมีการสัมผัสเชื้อ การติดเชื้อจากบาดแผลนั้นง่ายกว่าการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ไม่มีแผล ดังนั้นเมื่อยังมีอาการเป็นแผลจากเริมควรงดมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงไปจนกว่าแผลจะหาย