โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

เมื่อพูดถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เรามักจะได้ยินคนพูดถึงแต่ โรค HIV (human immunodeficiency virus) หรืออีกชื่อนึงที่ได้ยินกันติดหูคือ “เอดส์” (AIDs acquired immune deficiency syndrome) ทั้งๆที่ยังมีโรคอื่นๆอีกมากมายที่มีความสำคัญแต่มักถูกมองข้ามหรือไม่รู้จักเลย โดยโรคต่างๆเหล่านั้นมีดังนี้

ตรวจซิฟิลิส

-Syphilis หรือ Treponema pallidum เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากการมีเพศสัมธ์ทั้งแบบสอดใส่และการใช้ปาก ซึ่งโรคนี้นั้นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคในกลุ่มของ “หนองใน” โดยอาการเบื้องต้นแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 (primary syphilis) เป็นระยะที่มีแผลเกิดขึ้นหลังติดเชื้อได้ประมาณ 10-90 วัน แผลที่เกิดขึ้นเป็นตุ่มเล็กๆขนาดประมาณ 2-4 มิลลิเมตร โดยขนาดของแผลสามารถขยายออกได้เรื่อยๆ จนแตกออกเป็นขอบนูนแข๊กลักษณะคล้ายเม็ดกระดุมซึ่งเรียกว่า “แผลริมแข็ง” (chancre)

ระยะที่ 2 (secondary syphilis) หรือระยะออกดอกจะพบหลักจากระยะแรก 4-8สัปดาห์เชื้อจะแพร่สุ่ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายรวมทั้งอวัยวะต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดผื่นขึ้นทั้งตัวรวมถึงฝ่ามือและเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงและผื่นเหล่านี้จะไม่คัน

ระยะที่ 3 (tertiary syphilis) หรือระยะทำลายซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรค เกิดจากการไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง โดยเชื้อจะเข้าสู้ สมองและไขสันหลัง ทำให้เป็นอัมพาต ชัก เดินเซ ความจำเสื่อม ตามัวหรือบอด หูหนวก อาจเสียสติและถึงขั้นเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตามในระยะที่ 1 และ 2 นั้นในผู้ติดเชื้อสามารถไม่พบอาการข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมดได้แต่ยังมีเชื้อในร่างกายอยู่ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ระยะแฝง (latent syphilis) โดยผู้ที่อยู่ในระยะนี้จะมีความอันตรายมากกว่าเนื่องจากผู้ติดเชื้อจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติหรือการมีอยู่ของเชื้อในร่างกายซึ่งสามารถทำให้เข้าสู่ระยะ 3 ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 

การตรวจหาเชื้อทางเลือดจึงเป็นการคัดกรองที่ดีที่สุดโดยผู้ที่ควรตรวจไม่ใช่ผู้ที่มีอาการแต่ควรเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงมาแล้วอย่างน้อย 30 วันถึงแม้จะไม่มีอาการ ควรได้รับการตรวจทุกคนด้วยการตรวจตามมาตรฐานสากลดังต่อไปนี้

การตรวจซิฟิลิสแบ่งเป็น 2 แบบได้แก่

  1. Non-treponemal test หรือการตรวจหาภูมิต่อสิ่งที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมาโดยไม่มีความจำเพาะต่อตัวเชื้อได้แก่  VDRL (venereal disease research laboratory), RPR (Rapid plasma reagin)
    Treponemal test
  2. Treponema pallidum การตรวจหาภูมิที่จำเพาะต่อแบคทีเรีย ได้แก่ CMIA (Chemiluminescence microparticle Immunoassay), TPHA Treponema (pallidum hemagglutination assay), TPPA (Treponemal pallidum particle agglutination Test), FTA- ABS (Fluorescent treponemal antibody absorption)

โดยการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อซิฟิลิส ต้องทำการทดสอบทั้งสองประเภท (non-treponemal และ treponemal) เพื่อประกอบการวินิจฉัย นอกจากนั้นในกรณีของผู้ที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน การตรวจ treponemal test ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจซ้ำเพราะเนื่องจากการติดเชื้อครั้งแรกร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไปตลอดชีวิตทำให้ผลการตรวจภูมิต่อเชื้อนั้นเป็นบวกตลอดแม้ว่ารักษาหายแล้วก็ตาม การตรวจติดตามการรักษาหรือการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อซ้ำ จะตรวจแค่ non-treponemal test เท่านั้น

การตรวจเลือดในผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งผู้ที่เริ่มการรักษาและติดตามการรักษาควรได้รับการตรวจเลือดดังต่อไปนี้เพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Book an Appointment