ซิฟิลิส (Syphilis)

ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดได้จากมารดาสู่ทารกและการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า Treponema pallidum ลักษณะของแบคทีเรียจะหน้าตาคล้ายเกลียวสว่าน โดยปกติมักพบทั้งชายและหญิงวัยเจริญพันธ์ อาการของซิฟิลิสบางครั้งอาจแสดงไม่ชัดเจน ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงควรต้องทำการตรวจเป็นประจำ เพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สำหรับซิฟิลิสเราสามารถแบ่งการติดเชื้อได้เป็น 3 ระยะ

ซิฟิลิสระยะที่ 1 หรือระยะเกิดแผล ตรวจพบได้ตั้งแต่ 10-90 วัน ระยะนี้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้จากผิวหนังที่มีแผล รอยถลอก รอยฉีกขาด เช่น ลิ้น ริมฝีปาก นิ้วมือ หัวนม อวัยวะเพศ และทวารหนัก 

ลักษณะอาการ รอยโรคจะเป็นผื่นสีแดงเข้ม อาการเริ่มแรกมักพบตุ่ม เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ช่องปาก หัวนม ขาหนีบ อัณฑะ ตามจุดที่ติดเชื้อเมื่อผ่านไปตุ่มจะขยายใหญ่และแตกออกกลายเป็นแผลกว้าง รูปกลมหรือรูปไข่ ต่อมาจะแตกเป็นแผล มีขนาด 1-2 cm. เป็นแผลเดียว มีน้ำเหลือง ขอบแผลนูนแข็ง ไม่เจ็บ หรือเรียกว่า “โรคแผลริมแข็ง” (Chancre)  หากเกิดการติดเชื้อโรคอื่นแทรกซ้อน อาจทำให้แผลอักเสบและเจ็บได้ หากเป็นแผลที่อวัยวะเพศอาจจะเกิดการอักเสบของที่ต่อมน้ำเหลือง บวมโตแข็งคล้ายยาง กดไม่เจ็บ ในระยะนี้บริเวณแผลจะมีเชื้ออยู่จำนวนมาก จึงสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่าย อีกทั้งแผลซิฟิลิสสามารถหายเองได้ภายใน 3-8 สัปดาห์ ซึ่งอาจจะไม่ทันได้สังเกต หลังจากนั้นแผลจะหายไปเองทำให้คนไข้หลายๆคนไม่เข้ามาตรวจเนื่องจากคิดว่าหายแล้ว ทำให้โรคสามารถลุกลามเข้าสู่ในระยะที่ 2 ได้

ซิฟิลิสระยะที่ 2 หรือ ระยะออกดอก มักเกิดหลังจากที่เป็นแผล ประมาณ3-12 สัปดาห์ บางรายอาจเป็นเวลาหลายเดือน

ลักษณะอาการ ผู้ป่วยมักไข้ ปวดศีรษะ  คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร อาจพบผื่นแดงกระจายบริเวณหน้าอก ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือผื่นนูนมีสะเก็ด ไม่คัน ขึ้นบริเวณรอบอวัยวะเพศ ทวารหนัก และอาจจะพบว่ามีผมร่วงได้ อาการจะค่อยๆหายไปเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคทุเลาหรือหายขาด โรคจะดำเนินเข้าสู่ซิฟิลิสระยะแฝง

ซิฟิลิสระยะแฝง เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดงทางการ ไม่สามารถรู้ได้ว่าร่างกายมีการติดเชื้อ จะต้องใช้การตรวจเลือดในการวินิจฉัย ร่วมกับการตรวจระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งระยะนี้แบ่งช่วงระยะเวลาที่ติดเชื้อได้เป็น 2 ระยะ

ซิฟิลิสระยะแฝงช่วงต้น คือ สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 1 ปี

ซิฟิลิสระยะแฝงช่วงปลาย คือ สัมผัสเชื้อมาเกิน 1 ปี

ซิฟิลิสระยะที่ 3 หลังจากอยู่ในระยะโรคสงบหรือระยะแฝงนาน 2 ปีขึ้นไป หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา จะแสดงอาการของโรคในระยะท้าย มักเกิดในช่วง 12-40 ปีหลังจากติดเชื้อ ระยะนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคซิฟิลิสของระบบหัวใจและหลอดเลือด ในระยะสุดท้ายนี้สามารถเกิดโรคของซิฟิลิสของระบบประสาทร่วมได้ด้วยซึ่งจะมีความรุนแรงสามารถทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้

ลักษณะอาการ รอยโรคเป็นผื่นนูนสีแดงเข้ม ใต้ผิวหนัง ไม่เจ็บและไม่มีอาการคัน อาจพบแผลหรือฝีบริเวณรอยโรคได้ ตำแหน่งที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ศีรษะ ก้น กลางอก เหนือไหปลาร้า  เชื้อจะเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมองและหลอดเลือดใหญ่ อย่างช้าๆ ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดเลือดใหญ่อักเสบ ความจำเสื่อม แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ลิ้นหัวใจรั่ว และเสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

การตรวจหาเชื้อทางเลือดจึงเป็นการคัดกรองที่ดีที่สุดโดยผู้ที่ควรตรวจไม่ใช่ผู้ที่มีอาการแต่ควรเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงมาแล้วอย่างน้อย 30 วันถึงแม้จะไม่มีอาการ ควรได้รับการตรวจทุกคนด้วยการตรวจตามมาตรฐานสากลดังต่อไปนี้

Non-treponemal test หรือการตรวจหาภูมิต่อสิ่งที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมาโดยไม่มีความจำเพาะต่อตัวเชื้อ

ได้แก่ VDRL (venereal disease research laboratory), RPR (rapid plasma reagin) 

Treponemal test หรือการตรวจหาภูมิที่จำเพาะต่อแบคทีเรีย Treponema pallidum

ได้แก่ CMIA (Chemiluminescence microparticle Immunoassay), TPHA Treponema (pallidum hemagglutination assay), TPPA (Treponemal pallidum particle agglutination Test), FTA- ABS (Fluorescent treponemal antibody absorption)

โดยการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อซิฟิลิส ต้องทำการทดสอบทั้งสองประเภท (non-treponemal และ treponemal) เพื่อประกอบการวินิจฉัย นอกจากนั้นในกรณีของผู้ที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน การตรวจ treponemal test

ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจซ้ำเพราะเนื่องจากการติดเชื้อครั้งแรกร่างกายจะสร้างภูมิ คุ้มกันต่อเชื้อไปตลอดชีวิตทำให้ผลการตรวจภูมิต่อเชื้อนั้นเป็นบวกตลอดแม้ว่ารักษาหายแล้วก็ตาม การตรวจติดตามการรักษาหรือการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อซ้ำจะตรวจแค่ non-treponemal test เท่านั้น

หากผลการตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ และจะนัดหมายให้ติดตามอาการหลังจากการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนิซิลลิน จะให้เป็นยาสำหรับรับประทาน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อดังกล่าว ร่วมกับการรักษาตามอาการต่อไป

What do the symptoms of syphilis look like?

คำถามที่พบบ่อย Q&A

Q: แค่อาการทางกาย เช่น มีผื่นขึ้น เราสามารถรู้ได้เลยหรือไม่ว่าเราติดเชื้อซิฟิลิส?

A: ในการวินิจฉัยเพียงแค่อาการทางกายบางครั้งไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่ามีการติดเชื้อซิฟิลิส ดังนั้นจะต้องใช้การตรวจเลือดร่วมด้วยเพื่อยืนยันว่ามีการตรวจพบเชื้อในกระแสเลือดจริงๆ

Q: ซิฟิลิสติดต่อจากการจูบ น้ำลาย และออรอลเซ็กได้หรือไม่?

A: สามารถติดเชื้อได้จากแผล สารคัดหลั่งโดยตรง และการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษา แต่การใช้สิ่งของร่วมกันเช่น ช้อน หรือแก้วน้ำเดียวกัน ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้

Q: ซิฟิลิสรักษายังไง หายขาดได้หรือไม่?

A: ซิฟิลิสรักษาโดยการฉีดยาปฏิชีวนะ หากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆก็สามารถหายขาดได้ หมั่นมาติดตามอาการหลังจากฉีดยาทุกครั้งตามแพทย์นัด แต่สามารถกลับไปติดซ้ำได้หากได้รับเชื้อใหม่

Q: หากติดเชื้อซิฟิลิสแล้วสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่?

A: ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ตลอดชีวิต เนื่องจากมาตรการการคัดกรองของสภากาชาดไทยไม่รับผู้บริจาคเลือดที่เคยมีประวัติการรักษาซิฟิลิสมาก่อน

Q: ใครมีความเสี่ยงสำหรับซิฟิลิส?

A: ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนมีการติดเชื้อ หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ แนะนำสำหรับผู้ที่แพลนจะมีบุตรให้เข้ารับการตัวคัดกรองซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆร่วมด้วย ในวัยเจริญพันธ์ควรเข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ปีละครั้งตามความเหมาะสม

Q: การป้องกันไม่ให้ติดซิฟิลิส

A: สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ควรพาคู่มาตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เบื้องต้น

Q: ภาวะแทรกซ้อนจากซิฟิลิส

A: โรคซิฟิลิสเป็นโรคที่หากตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะแรก จะไม่มีความรุนแรงและหายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้เข้าสู่ในระยะแฝงไม่ได้รับการรักษา จนลุกลามไประยะสุดท้ายระยะที่ 3 ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบการทำงานส่วนของสมองและหัวใจจะทำให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิตได้ในที่สุด 

Q: ซิฟิลิส เอดส์ และหนองไน คือโรคเดียวกันไหม

A: ซิฟิลิสกับเอดส์ไม่ใช่โรคเดียวกัน โดย

HIV/เอดส์ คือ โรคติต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า human immunodeficiency virus/ (AIDs) acquired immune deficiency syndrome

ซิฟิลิส คือ โรคติต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Treponema pallidum

หนองไน คือ โรคติต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Neisseria gonorrhea, 

Chlamydia trachomatis,

หากมีการติดเชื้อซิฟิลิสก็เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

การตรวจหาเชื้อทางเลือดจึงเป็นการคัดกรองที่ดีที่สุดโดยผู้ที่ควรตรวจไม่ใช่ผู้ที่มีอาการแต่ควรเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงมาแล้วอย่างน้อย 30 วันถึงแม้จะไม่มีอาการ ควรได้รับการตรวจทุกคนด้วยการตรวจตามมาตรฐานสากลดังต่อไปนี้

Non-treponemal test หรือการตรวจหาภูมิต่อสิ่งที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมาโดยไม่มีความจำเพาะต่อตัวเชื้อ

ได้แก่ VDRL (venereal disease research laboratory), RPR (rapid plasma reagin) 

Treponemal test หรือการตรวจหาภูมิที่จำเพาะต่อแบคทีเรีย Treponema pallidum

ได้แก่ CMIA (Chemiluminescence microparticle Immunoassay), TPHA Treponema (pallidum hemagglutination assay), TPPA (Treponemal pallidum particle agglutination Test), FTA- ABS (Fluorescent treponemal antibody absorption)

โดยการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อซิฟิลิส ต้องทำการทดสอบทั้งสองประเภท (non-treponemal และ treponemal) เพื่อประกอบการวินิจฉัย นอกจากนั้นในกรณีของผู้ที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน การตรวจ treponemal test

ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจซ้ำเพราะเนื่องจากการติดเชื้อครั้งแรกร่างกายจะสร้างภูมิ คุ้มกันต่อเชื้อไปตลอดชีวิตทำให้ผลการตรวจภูมิต่อเชื้อนั้นเป็นบวกตลอดแม้ว่ารักษาหายแล้วก็ตาม การตรวจติดตามการรักษาหรือการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อซ้ำจะตรวจแค่ non-treponemal test เท่านั้น

หากผลการตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ และจะนัดหมายให้ติดตามอาการหลังจากการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนิซิลลิน จะให้เป็นยาสำหรับรับประทาน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อดังกล่าว ร่วมกับการรักษาตามอาการต่อไป

Book an Appointment