เอชพีวี
Table of Contents
HPV (Human papillomavirus)?
ป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ มีชื่อเรียกว่า Human papillomavirus ที่สามารถติดต่อจากการสัมผัสบริเวณที่มีเชื้อหรือบริเวณรอยโรค การมีเพศสัมพันธ์จากผู้ติดเชื้อ ได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางปากช่องคลอด ทวารหนัก หรือ การสัมผัสเชื้อโดยตรง ปกติผู้ที่ได้รับ HPV ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการไม่ว่าจะเป็นในเด็กหรือผู้ใหญ่และร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้เอง โดยเชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ แต่ในบางครั้งไวรัสชนิดนี้สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดโรคร้ายต่อร่างกายผู้ติดเชื้อได้แก่ หูดหงอนไก่ มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง
ลักษณะอาการ
สามารถแบ่งการติดเชื้อจาก HPV ได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. หูดหงอนไก่ ( Condyloma Acuminate )
มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ ไม่เรียบ ตุ่มจะกระจายตามอวัยวะเพศภายนอก มีอาการคันได้ พบได้ทั้งปากช่องคลอด ปากมดลูก และทวารหนัก แต่หูดชนิดทั่วไป จะมีรูปร่างเป็นตุ่มเล็กๆ เจ็บปวดบ้างในบางครั้ง และหากสัมผัสจะรูสึกผิวของหูดนั้นมีความขรุขระ มีได้หลายสี พบได้ที่บริเวณตามมือ นิ้วมือ หรือข้อศอก ซึ่งหูดลักษณะเช่นนี้ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หูดที่สร้างความทุกข์ใจกับผู้ป่วยมากที่สุดคือ หูดที่อวัยวะเพศ หรือเรียกว่า หูดหงอนไก่เป็นติ่งเนื้อลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศชาย และทวารหนัก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจทำให้รู้สึกคัน
2.อาการตกขาว
มีตกขาวมากกว่าปกติ อาจมีเลือดปน มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดออกกระปริดกระปรอยจากช่องคลอด หากติดเชื้อที่ทวารหนัก ก็จะมีแผลหรือก้อนเนื้อยื่นออกมา อาการติดเชื้อในระยะแรกทั้ง 2 แบบนี้ จะเป็นๆ หายๆ ผู้หญิงบางรายได้รับเชื้อ HPV เข้าสู่ร่างกายแต่ไม่แสดงอาการและเชื้อก็จะหายไปเอง หรือหากร่างกายอ่อนแอก็อาจก่อให้เกิดความผิดปกติได้ในภายหลัง
ความน่ากลัวของ เชื้อ HPV คือการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หากเริ่มมีอาการปรากฏ นั่นหมายถึงอาจเกิดเซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ดังนั้นจึงควรหาเชื้อ HPV หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี


การตรวจวินิจฉัยและการรักษา
วินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายดูรอยโรค และการตรวจภายในสำหรับผู้หญิงด้วยการทำ Pap smear การตรวจตินเพร็พ ( ThinPrep Pap Test ) การตรวจคัดกรองหาดีเอ็นเอของเชื้อ HPV ( HPV DNA Test ) และการตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป ( Colposcopy ) หากพบว่ามีการติดเชื้อสามารถรักษาโดยการใช้ยาทา และหากอาการรุนแรงแนะนำให้รักษาโดยการจี้ด้วยเลเซอร์
ในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 9-40ปี ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม 0,2,6 เดือน หากฉีดครบ 3 เข็ม สามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต
คำถามที่พบบ่อย
Q: ผู้ชายควรฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?
A: ควรฉีดวัคซีน เพราะไม่ได้ป้องกันแค่มะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถป้องกันหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย และยังป้องกันการส่งต่อเชื้อให้กับคนที่คุณรักได้ด้วย
Q: มะเร็งกับหูดหงอนไก่เหมือนกันหรือไม่?
A: ไม่เหมือนกัน เพราะ HPV มีหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรค โดยหูดหงอนไก่ คือ HPVสายพันธุ์ 6, 11, 42, 43, 44(5,6) ส่วนสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คือ HPVสายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 41-45, 51, 52, 56, 59(5,6)
Q: วัคซีน HPV สามารถฉีดตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
A: สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป จนถึง 40 ปี
CDC
National Center for HIV/AIDS, Viral Hepatitis, STD, and TB Prevention , National Center for Immunization and Respiratory Diseases , National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion